วันอังคารที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2557

นิยามของความดีและความชั่ว

จากท่าน อัน-เนาวาส อินุ สัมอาน เราะฏิยัลลอฮอันฮุ จากท่านนบี(ซ.ล.) ท่านกล่าวว่า: " ความดีนั้นคือ
กรามีจรรยามารยาทงดงาม ส่วนความชั่วนั้นคือ สิ่งที่ทำให้กระสับกระส่ายในตัวท่าน และท่านไม่ชอบให้ใครรู้เห็น " หะดิษบันทึกโดยมุสลิม
            และจากท่านวาบิเศาะฮ อิบนุ มะอบัด เล่าว่า : ฉันได้ไปหาท่านเราะสูลุลลอฮ และท่านก็ได้ถามฉันว่า ท่านมาเพื่อถามเกี่ยวกับความดีใช่ไหม ฉันตอบว่า ใช่ ท่านจึงกล่าวว่า ท่านจงถามใจของท่านเถิด ความดีคือ สิ่งที่ทำให้ตัวและหัวใจสงบ และความชั่วนั้นคือ สิ่งที่ทำให้เกิด ความกระสักระส่าย
ในตัวเองและลังเลใจ ถึงแม้ว่าผู้คนจะให้คำตอบแก่ท่านแล้วก็ตาม หะดิษอยู่ในระดับหะสัน และเราได้รายงานหะดิษนี้ จากหนังสือมุสนัดอิมามอะหมัด อิบนุ หันบัล และมุสนัดอิมาอัด- ดาริมีย์ ด้วยสายรายงานที่ดี 



           





เซลล์ปฐมภูมิ


เซลล์ปฐมภูมิ

เซลล์ปฐมภูมิ (อังกฤษ: primary cell) เป็นแบตเตอรี่แบบหนึ่งซึ่งปฏิกิริยาทางเคมีไฟฟ้าไม่สามารถพลิกกลับได้ ตัวอย่างของเซลล์ปฐมภูมิอย่างง่ายๆก็คือแบตเตอรี่ที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง[1] เซลล์ปฐมภูมิไม่เหมือนกับเซลล์ทุติยภูมิ ปฏิกิริยาเคมีในเซลล์ปฐมภูมิไม่สามารถย้อนกลับด้วยการปล่อยกระแสไฟเข้าไปในเซลล์ ตัวทำปฏิกิริยาทางเคมีไม่สามารถฟื้นฟูมาที่ตำแหน่งและความจุเริ่มต้นได้ เซลล์ปฐมภูมิใช้วัสดุหนึ่งถึงสองชนิดมาทำเป็นขั้วไฟฟ้า

แบตเตอรี่







แบตเตอรี่แบบประจุได้ ขนาด AA

แบตเตอรี่ (อังกฤษ: Battery) ในทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หมายถึงอุปกรณ์อย่างหนึ่งที่ใช้เก็บพลังงาน และนำมาใช้ได้ในรูปของไฟฟ้า แบตเตอรี่นั้นประกอบด้วยอุปกรณ์ไฟฟ้าเคมี เช่น เซลล์กัลวานิกหรือเซลล์เชื้อเพลิง อย่างน้อยหนึ่งเซลล์

เชื่อกันว่าหลักฐานชิ้นแรกสุดที่เป็นไปได้ว่าจะเป็นแบตเตอรี่ในประวัติศาสตร์โลก คือ วัตถุที่เรียกว่าแบตเตอรี่แบกแดด (Baghdad Battery) คาดว่ามีอายุในช่วง 250 ปีก่อนคริสตกาล ถึงคริสต์ศักราช 640 สำหรับพัฒนาการของแบตเตอรี่ในยุคใหม่นั้น เริ่มต้นที่ ที่พัฒนาขึ้นโดยนักฟิสิกส์ชาวอิตาลี นามว่าอาเลสซานโดร โวลตา เมื่อ ค.ศ. 1800 ปัจจุบันนี้อุตสาหกรรมแบตเตอรี่ทั่วโลกสามารถสร้างรายได้จากการขายปีละ 4.8 หมื่นล้านดอลาร์สหรัฐเลยทีเดียว [1]

 


ประเภทแบตเตอรี่สามัญ[แก้]


แบตเตอรี่ชนิดประจุไฟฟ้าใหม่ได้ และชนิดใช้แล้วทิ้ง[แก้]






ตัวอย่างแบตเตอรี่หลายชนิด (จากซ้ายไปขวา บนลงล่าง): ถ่านไฟฉายขนาด AA สองก้อน, ถ่านไฟฉายก้อนใหญ่ (D), แบตเตอรี่วิทยุสื่อสาร, ถ่าน 9 โวลต์ (PP3) สองก้อน, ถ่านไฟฉายขนาด AAA สองก้อน, ถ่านไฟถ่ายก้อนกลาง (C), แบตเตอรี่กล้องวีดีโอ, และแบตเตอรี่โทรศัพท์บ้านไร้สาย

จากมุมมองของผู้ใช้แบตเตอรี่แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้; แบตเตอรี่ชนิดประจุไฟฟ้าใหม่ได้ และ แบตเตอรี่ชนิดประจุไฟฟ้าใหม่ไม่ได้ (ใช้แล้วทิ้ง) ซึ่งนิยมใช้อย่างแพร่หลายทั้งสองชนิด

แบตเตอรี่ใช้แล้วทิ้งเรียกอีกอย่างว่า เซลล์ปฐมภูมิ ใช้ได้ครั้งเดียว เนื่องจากไฟฟ้าที่ได้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีเมื่อสารเคมีเปลี่ยนแปลงหมดไฟฟ้าก็จะหมดจากแบตเตอรี่ แบตเตอรี่เหล่านี้เหมาะสำหรับใช้ในอุปกรณ์ขนาดเล็กและสามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก ใช้ไฟน้อยหรือในที่ที่ห่างไกลจากพลังงานไฟฟ้ากระแสสลับ

ในทางตรงกันข้ามแบตเตอรี่ชนิดประจุไฟฟ้าใหม่ได้หรือ เซลล์ทุติยภูมิ สามารถประจุไฟฟ้าใหม่ได้หลังจากไฟหมดเนื่องจากสารเคมีที่ใช้ทำแบตเตอรี่ชนิดนี้สามารถทำให้กลับไปอยู่ในสภาพเดิมได้โดยการประจุไฟฟ้าเข้าไปใหม่ซึ่งอุปกรณ์ที่ใช้อัดไฟนี้เรียกว่า ชาร์เจอร์ หรือ รีชาร์เจอร์

แบตเตอรี่ชนิดประจุไฟฟ้าใหม่ได้ที่เก่าแก่ที่สุดซึ่งใช้อยู่จนกระทั่งปัจจุบันคือ "เซลล์เปียก" หรือแบตเตอรี่ตะกั่ว-กรด (lead-acid battery) แบตเตอรี่ชนิดนี้จะบรรจุในภาชนะที่ไม่ได้ปิดผนึก (unsealed container) ซึ่งแบตเตอรี่จะต้องอยู่ในตำแหน่งตั้งตลอดเวลาและต้องเป็นพื้นที่ที่ระบายอากาศได้เป็นอย่างดี เพื่อระบายก๊าซ ไฮโดรเจน ที่เกิดจากปฏิกิริยาและแบตเตอรี่ชนิดจะมีน้ำหนักมาก

รูปแบบสามัญของแบตเตอรี่ตะกั่ว-กรด คือแบตเตอรี่ รถยนต์ ซึ่งสามารถจะให้พลังงานไฟฟ้าได้ถึงประมาณ 10,000 วัตต์ในช่วงเวลาสั้นๆ และมีกระแสตั้งแต่ 450 ถึง 1100 แอมแปร์ สารละลายอิเล็กโตรไลต์ของแบตเตอรี่คือ กรดซัลฟิวริก ซึ่งสามารถเป็นอันตรายต่อผิวหนังและตาได้ แบตเตอรี่ตะกั่ว-กรดที่มีราคาแพงมากเรียกว่า แบตเตอรี่เจล (หรือ "เจลเซลล์") ภายในจะบรรจุอิเล็กโตรไลต์ประเภทเซมิ-โซลิด (semi-solid electrolyte) ที่ป้องกันการหกได้ดี และแบตเตอรี่ชนิดอัดไฟใหม่ได้ที่เคลื่อนย้ายได้สะดวกกว่าคือประเภท "เซลล์แห้ง" ที่นิยมใช้กันในโทรศัพท์มือถือและคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก เซลล์ของแบตเตอรี่ชนิดนี้คือ

วันอังคารที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2557

การหยุดตรงที่ขอบเขตของอิสลาม

จากท่านอบู ษะอละบะฮ อัล-คุชะนีย์ นั่นคือญุรษูม อิบนุ นาซิร เราะฏิยัลลอฮอันฮุ จาก
ท่านเราะสูลุลอฮ(ซ.ล.) ท่านกล่าวว่า : "แท้จริงอัลลอฮผู้ทรงสูงส่งได้ทรงกำหนดบทบัญญัติต่างๆ
(ที่เป็นฟัรดฏู) ดังนั้นพวกท่านอย่าได้ละเลยบทบัญญัติเหล่านั้น และพระองค์ก็ได้ทรงวางขอบเขต
ต่างๆ ดังนั้น พวกท่านจงอย่าล่วงล้ำขอบเขตเหล่านั้น และพระองค์ได้ทรงห้ามหลายสิ่งหลายอย่าง
ดังนั้นพวกท่านอย่าได้ละเมิดมัน และพระองค์ได้ทรงเงียบเฉยต่อหลายสิ่งหลายอย่าง ทังนี้เพื่อเป็น
ความเมตตาแก่พวกท่าน มิใช่เพราะความหลงลืม ดังนั้นพวกท่านจงอย่าได่้พยายามสืบเสาะค้นหา
สิ่งเหล่านั้น" .หะดี
ษอยู่ในระดับหะสัน บันทึกโดยอัด-ดาเราะกุฏนีย์ และท่านอื่นๆ


วันพฤหัสบดีที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2557

การเชื่อฟังและปฏิบัติตาม

 จากท่านอบู นะญีห อัล-อิรบาฎ อิบนุ สาริยะฮ เราะฎิยัลลอฮอันฮุ เล่าว่า : " ท่านเราะสูลุลลอฮ (ซ.ล.)
ได้ตักเตือนเราด้วยการตักเตือนหนึ่งที่ทำให้จิตใจหวาดหวั่น และน้ำตาเออล้น แล้วพวกเราก็กล่าวว่า
" โอ้เราะสูลุลลอฮ ประหนึ่งว่ามันคือคำตักเตือนของผู้จากลา ดังนั้นท่านจังสั่งเสียให้แก่พวกเราเถิด
'' ท่านกล่าวว่า : '' ฉันขอสั่งเสียพวกท่านให้มีความยำเกรงต่ออัลลอฮผู้ทรงเกียรติแลสูงส่งยิ่ง และจงเชื่อฟังแลปฏิบัติตาม ถึงแม้นว่าทาสคนหนึ่งจะปกครองท่านก็ตามและหากผู้ใดผู้หนึ่งในหมู่พวกท่านมีชีวิตยืนยาวต่อไป เขาก็จะได้พบกับความขัดแย้งอันมากมาย ดังนั้นพวกท่านจงยึดไว้ซึ่งสุนนะฮ์(แนวทาง)
ของฉันและซุนนะฮของบรรดาคอลีฟะฮผู้ทรงธรรมที่ได้รับทางนำ จงกัดมันด้วยฟันกราม และพวกท่านจงพึ่งระวังต่ออุตริกรรมทั้งหลายในศาสนาเพราะทุกๆ อุตริกรรม (บิดะห์) นั้นคือความผิด และทุกๆ ของความหลงผิดนั้นอยู่ในไฟนรก" หะดิษบันทึกดดยอบูดาวูด และอัต-ติรมิซี และท่านกล่าวว่า หะดิษอยู่ในระดับหะสันเศาะห





วันอังคารที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2557

การยืนยัดบนความถูกต้องคือแก่นแท้ของอิสลาม

จากท่านอบู อัมร - บางรายงานกล่าวว่าอบู อัมเราะ - นั่นคือสุฟยาน อิบนุ อับดุลลอฮ
เราะฏิยัลลอฮอันฮุ เล่าว่า :   "โอ้ท่านเราะสูลุลลอฮ ได้โปรดบอกฉันเกี่ยวกับอิสลาม
ด้วยคำกล่าวที่ฉันไม่ต้องถามผู้อื่นอีกนอกจากท่านด้วยเถิด" ท่านนบี(ซ.ล.)จึงกล่าวว่า:
"ท่านจงกล่าวเถิดว่า ฉันได้ศรัทธาต่ออัลลอฮแล้ว หลังจากนั้นท่านก็จงยืนหยัดอยู่บน
ความถูกต้อง" บันทึกโดยมุสลิม

วันจันทร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2557

แนะนำตัว

   นาย หมันโซด หมัดอะดั้ม
143/3 ม.13 ต.ท่าช้าง อ.บางกล่ำ จ.สงขลา

โรงเรียน มุสลีมีนศึกษา
106 ม.16 ต.ท่าช้าง อ.บางกล่ำ จ.สงขลา

วันอังคารที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ผู้ที่โดดเด่นกว่าผู้อื่น

 จากท่่านอะบี ฮุร็อยเราะ (ร.ด.) เล่าว่า.... ท่านรอสูล(ซ.ล.) ได้กล่าวว่า ..
"ผู้โดดเด่นไม่ได้ล้ำหน้าไปแล้ว !! บรรดาเศาะหาบะก็กล่าวว่า : โอ้รอสูลลอฮ ใครกันเล่า ใครคือผู้โดดเด่น ?? ท่านรอสูล(ซ.ล.) ก็กล่าวว่า : เหล่าบรรดาบุรุษและสตรีที่ได้รำลึกถึงอัลลอฮอย่างมากมาย"
(บันทึกโดย มุสลิม)

สิ่งที่ได้รับจากหะดิษ
1.ส่งเสริมให้ทำซิกรุลลอฮให้มากๆ
2.ผู้ที่ทำการซิกรุลลอฮเป็นประจำนั้น เขาจะอยู่ในระดับที่สูงส่ง ณ. ที่อัลลอฮ ตะอาลา
3.การปลีกตัวออกไปจากผู้อื่น เพื่อทำการรำลึกถึงอัลลอฮ ตะอาลา นั้น ถือเป็นสิ่งที่ประเสริฐยิ่ง
4.ผู้ที่รำลึกถึงอัลลอฮ ตะอาลา มากๆนั้น อัลลอฮ ตะอาลา ก็จำรำลึกถึงเขาอย่างมากเช่นกัน